
บทที่2
นมพร้อมดื่มมีดีตรงคุณค่าสารอาหารที่จะได้รับจากการบริโภคเนื่องจากนมพร้อมดื่มเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี ประกอบด้วยกรดอมิโนที่จำเป็นแก่ร่างกายทุกชนิด ซึ่งกรดอมิโนบางชนิดนั้นร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น ส่วนไขมันที่อยู่ในนมจะประกอบด้วยกรดไขมันชนิดอิ่มตัวประมาณร้อยละ 60 และชนิดไม่อิ่มตัวประมาณร้อยละ 40 ง่ายต่อการดูดซึม แม้ว่าในระหว่างกระบวนการผลิตจะมีการสูญเสียวิตามิน และเกลือแร่ ซึ่งจะมากน้อยแตกต่างกันตามอุณหภูมิและระยะเวลาที่ใช้ แต่นมพร้อมดื่มก็ยังอุดม ไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส และ วิตามินบี 2 นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของวิตามินบี 1 ไนอาซีน วิตามินบี 6 และสังกะสีอีกด้วย
เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2 ธาตุอาหารพืช
เป็นข้าวโพดที่นิยมปลูก และนำมารับประทานมากที่สุดในบรรดาข้าวโพดชนิดต่างๆ เนื่องจากให้ความหวานสูง ไขมันต่ำ สามารถนำมาปรุงเป็นอาหาร ของหวานหรือแปรรูปได้หลากหลายอย่าง รวมถึงการนิยมรับประทานเป็นอาหารโดยตรงด้วยการต้มหรือคั่ว
ข้าวโพดหวาน เป็นข้าวโพดที่ปลูกมากทั่วโลก ผู้ปลูกรายใหญ่ของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ฮังการี และแคนาดา ส่วนเอเชียมีผู้ปลูกรายใหญ่ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย โดยประเทศไทยมีแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ได้แก่ ภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดหนองคาย นครพนม ภาคกลาง เช่น จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี ส่วนภาคใต้ เช่น จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสตูล
เกษตรกรมักปลูกข้าวโพดหวานในฤดูฝนช่วงเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และตุลาคม และปลูกหลังการเก็บเกี่ยวข้าวในเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม การจำหน่ายผลผลิตมีทั้งการจำหน่ายแก่โรงงานเพื่อแปรรูปเป็นข้าวโพดหวานกระป๋อง การส่งออกต่างประเทศ และนำมาบริโภคภายในประเทศ รูปแบบการจำหน่ายในประเทศมักพบนำฝักสดมาขายตามท้องตลาดการเกษตร ตลาดสด และมักพบการขายเป็นข้าวโพดหวานต้มหรือข้าวโพดหวานย่างไฟตามข้างถนนของพื้นที่แปลงปลูก
ประโยชน์ และคุณค่าทางอาหาร
ฉลอง เกิดศรี และไพโรจน์ สุวรรณจินดา (2551) พบว่า ข้าวโพดหวานต้มช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และมะเร็งได้ ข้าวโพดหวานต้มสามารถปลดปล่อยสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญชื่อ กรดเฟอรูลิก (ferulic acid) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ กรดเฟอรูลิกยังนิยมใช้สำหรับต้านการแก่ของเซลล์ ป้องกันเซลล์มะเร็ง โรคหัวใจ ไข้หวัด ต้านผลกระทบจากรังสีอัลตราไวโอเลต ช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังจากแสงแดด
เอกสารที่เกี่ยวข้อง 4 ข้าวโพดหวาน
เอกสารที่เกี่ยวข้อง 1 ประโยชน์กลุ่มแบคทีเรียที่ใช้ผลิตจุลินทรีย์
1. แบคทีเรียสกุลบาซิลลัส เป็นแบคทีเรียที่สร้างสปอร์ได้ซึ่งผลิตไลโปเป็บไตด์สสามารถลดแรงตึงผิวของน้ำและสามารถเพิ่มจำนวนในดิน ในสภาพไร้อากาศ ถ้ามีเศษพืชที่เป็นเซลลูโลส ( ต้นและใบพืชหลังเก็บเกี่ยว
ใบที่ร่วงหล่น เปลือกข้าว ขี้เลื่อย ขี้แกลบ เศษไม้และเปลือกไม้ )
2.แบคทีเรียสกุลบาซิลลัสหรือสกุลคลอสติเดียมเป็นแบคทีเรียที่สร้างสปอร์ได้ซึ่งผลิตน้ำย่อยเซลลูโลส
(เศษพืช) และสามารถเพิ่มจำนวนในดินในสภาพไร้อากาศ ถ้ามีเศษพืชที่เป็นเซลลูโลส
3.แบคทีเรียที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้เป็นไนเตรทหรือแอมโมเนีย เช่นแบคทีเรียอโซโตฟิกแซน แบคทีเรียมาเซอแรนศ์,แบคทีเรียโพลีไมซ่า,เป็นต้นแบคทีเรียพวกนี้สามารถสร้างสปอร์ได้และอยู่แบบอิสระไม่ต้องอาศัยรากพืช
4.แบคทีเรียที่สามารถย่อยขยะที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบได้ เช่นแบคทีเลียโพลีเนียม เซลลูซั่ม
5.แบคทีเรียที่สามารถยิ่อยหินฟอสเฟตได้ เช่นแบคทีเรียบาซิลลัส เมกาทีเรียมฟอสฟาติคัม
6.แบคทีเรียที่สามารถย่อยหินโปแตสได้เช่นแบคทีเรียบาซิลลัส มูซิลานีโอซัส. วา คราสสินิคอฟ
ธาตุอาหารพืช เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วย 17 ธาตุ ได้แก่ คาร์บอน, ไฮโดรเจน, ออกซิเจน, ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, เหล็ก, แมงกานีส, สังกะสี, ทองแดง, โบรอน, โมลิบดีนัม, คลอรีน และนิเกิล แบ่งเป็น
มหธาตุ 9 ธาตุ (macronutrient elements) หรือธาตุอาหารมหัพภาค คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก และขาดไม่ได้ โดยมีความเข้มข้นของธาตุอาหารโดยน้ำหนักแห้ง เมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มวัยสูงกว่า 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่ คาร์บอน, ไฮโดรเจน และออกซิเจน ซึ่งได้จากน้ำ และอากาศ ส่วนไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม และกำมะถัน พืชได้จากดิน
ในบางครั้ง มหธาตุจะกล่าวถึงเพียง 6 ธาตุ ไม่นับรวมคาร์บอน, ไฮโดรเจน และออกซิเจน ที่ได้จากน้ำ และอากาศ ได้แก่ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม และกำมะถัน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มธาตุอาหารหลัก (primary nutrient elements) 3 คือ ธาตุอาหารพืชที่ต้องการในปริมาณมาก 3 ธาตุ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
2. กลุ่มธาตุอาหารรอง (secondary nutrient elements) คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยกว่ากว่ากลุ่มแรก 3 ธาตุ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน
จุลธาตุ 8 ธาตุ (micronutrient elements) คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อย โดยที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารโดยน้ำหนักแห้ง เมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มวัยต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่เหล็ก, แมงกานีส, สังกะสี, ทองแดง, โบรอน, โมลิบดีนัม, คลอรีน และนิเกิล
สำหรับธาตุนิเกิล เพิ่งจะมีการวมเข้าเป็นธาตุที่ 8 โดยมีการศึกษา พบว่า นิกเกิลเป็นองค์ประกอบสำคัญของเอนไซม์ยูรีเอส ที่ทำหน้าที่กระตุ้นปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสยูเรียให้เป็นแอมโมเนีย และคาร์บอนไดออกไซด์ และทำหน้าที่สำคัญในการสร้างสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน นอกจากนั้น พืชบางชนิดยังต้องการธาตุอาหารอื่นๆอีก เช่น โคบอลท์ (CO), โซเดียม (Na), อะลูมิเนียม (Al), แวนาเดียม (Va), ซิลิเนียม (Se), ซิลิกอน (Si) และอื่นๆ เรียกธาตุอาหารกลุ่มเหล่านี้ว่า beneficial element
เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3 นมพร้อมดื่มดีอย่างไร








