top of page
JAVA

ภาษาจาวา (อังกฤษ: Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (อังกฤษ: Object Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน

และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้

 ภาษาในการเขียนเว็บไซต์ 

เอเอสพี (อังกฤษ: ASP ย่อมาจาก Active Server Page) เป็นเทคโนโลยีประเภท Server-Side Script (โปรแกรมที่ทำงานบนเครื่อง Server) ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย สร้างโดยบริษัท ไมโครซอฟท์ สำหรับระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ซึ่งใช้ร่วมกับโปรแกรม Internet Infomation Service หรือ IIS. ASP นั้นใช้ภาษาสคริปต์ VBScript, JScript หรือ PerlScript ในการเขียน โดยเว็บเพจที่ใช้ ASP เขียน จะระบุเป็นตระกูลไฟล์ที่ลงท้ายด้วย .asp ซึ่ง ASP ยังสามารถใช้เขียนเพื่อควบคุมฐานข้อมูลต่างๆ ผ่าน ODBC ADO DAO JET และอื่นๆ

ปัจจุบันนี้ไมโครซอฟท์ได้ยกเลิกการพัฒนาเทคโนโลยี ASP แล้วและได้เปลี่ยนเป็น ASP.NET แทน. ซึ่งคำว่า Classic ASP นั้นอาจใช้เรียกแทนเอเอสพีเดิม

ASP

HTML คือ ภาษาหลักที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผล HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language โดย Hypertext หมายถึง ข้อความที่เชื่อมต่อกันผ่านลิ้ง (Hyperlink) Markup language หมายถึงภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนเว็บเพจ ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลเว็บเพจที่ต่างก็เชื่อมถึงกันใน Hyperspace ผ่าน Hyperlink นั่นเอง

คำสั่งเริ่มต้นสำหรับ HTML  
           คำสั่งหรือ Tag ที่ใช้ในภาษา HTML ประกอบไปด้วยเครื่องหมายน้อยกว่า <ตามด้วย ชื่อคำสั่งและปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมากกว่า
> เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ตกแต่งข้อความ เพื่อ การแสดงผลข้อมูล โดยทั่วไปคำสั่งของ HTML ส่วนใหญ่จะอยู่เป็นคู่ มีเพียงบาง คำสั่งเท่านั้น 
ที่มีรูปแบบคำสั่งอยู่เพียงตัวเดียว ในแต่ละคำสั่ง จะมีคำสั่งเปิดและปิด คำสั่งปิดของแต่ละ คำสั่งจะมี รูปแบบเหมือนคำสั่งเปิด เพียงแต่จะเพิ่ม /
(Slash) นำหน้าคำสั่ง ปิดให้ดู แตกต่าง เท่านั้น และในคำสั่งเปิดบางคำสั่ง อาจมีส่วนขยายอื่นผสมอยู่ด้วย ในการเขียน ด้วยตัวอักษร 
เล็กหรือใหญ่ ทั้งหมดหรือเขียนปนกันก็ได้ ไม่มีผลอะไร

พีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีการตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว

 

 

 

 ถ้าใครรู้จัก Server Side Include (SSI) ก็จะสามารถเข้าใจการทำงานของ PHP ได้ไม่ยาก สมมุติว่า เราต้องการจะแสดงวันเวลาปัจจุบัน ที่ผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซด์ในขณะนั้น ในตำแหน่งใด ตำแหน่งหนึ่งภายในเอกสาร HTML ที่เราต้องการ อาจจะใช้คำสั่งในรูปแบบนี้
เช่น ไว้ในเอกสาร HTML เมื่อ SSI ของ Web Server มาพบคำสั่งนี้ ก็จะกระทำคำสั่ง date.pl ซึ่งในกรณีนิ้ เป็นสคริปต์ที่เขียนด้วยภาษา perl สำหรับอ่านเวลา จากเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วใส่ค่าเวลาเป็นเอาพุท (output) และแทนที่คำสั่งดังกล่าว ลงในเอกสาร HTML โดยอัตโนมัติ ก่อนที่จะส่งไปยังผู้อ่านอีกทีหนึ่ง

PHP
HTML

จุดมุ่งหมายหลัก 4 ประการ ในการพัฒนาจาวา คือ

  1. ใช้ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ

  2. ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์ม (สถาปัตยกรรม และ ระบบปฏิบัติการ)

  3. เหมาะกับการใช้ในระบบเครือข่าย พร้อมมีไลบรารีสนับสนุน

  4. เรียกใช้งานจากระยะไกลได้อย่างปลอดภัย

     

ข้อดี
ข้อเสีย

ข้ข้อเสียของ HTML

1. การเพิ่มเติบออบเจ็กต์หรือส่วนประกอบต่างๆ ในHTML มีข้อจำกัด 2. มีข้อจำกัดในการใช้คำสั่ง เนื่องจากไม่สามารถสร้างคำสั่งใหม่ๆ ขึ้นมาใช้เองได้ จึงต้องใช้คำสั่งเท่าที่มีอยู่เท่านั้น

ข้อดีของ HTML  
          1.ไฟล์ HTML สามารถทำงานบนเว็บบราวเซอร์ได้ทุกตัวสามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่สนับสนุน HTML    
          2.ไฟล์ HTMLมีรากฐานมาจากโครงสร้างที่สามารถกำหนดลิสต์ตัวเลขและสามารถระบุว่าจะดูลิสต์ตัวเลขแบบโรมันหรืออารบิค    
          3.ง่ายต่อการเรียนรู้    

ข้อดี

ข้อดีของ ASP 
           1. ASP ง่ายต่อการเรียนรู้และทำความเข้าใจ เนื่องจากโครงสร้างของภาษาเป็นลักษณะของการเขียนสคริปต์ ซึ่งง่ายต่อการศึกษา โดยปกติ ASP จะใช้โครงสร้างภาษาเดียวกับ VBScript ดังนั้นหากเคยศึกษาภาษา Basic มาก่อนก็สามารถใช้งาน ASP ได้ทันทีแต่ถ้าเคยใช้ภาษา C/C++ มา ก็สามารถไวยากรณ์ของ Jscript ได้ทันทีเพราะมีโครงสร้างคล้ายกัน

           2. ASP ง่ายต่อการพัฒนา เช่น กรณีที่ต้องการเขียนโปรแกรมติดต่อกับเว็บแอพพลิเคชั่น ถ้าหากต้องมีการปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติม นักพัฒนาก็สามารถแก้ไขปรับปรุงได้เลยแล้วนำไปใช้งานทางฝั่ง Server ได้เลย โดยไม่ต้องมาเสียเวลาทำการคอมไพล์ใหม่    

           3. ASP สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและขยายความสามารถได้โดยง่าย โดยการสร้าง Component ขึ้นมาใช้งานเอง โดยโปรแกรม VB หรือ Delphi แต่ปกติแล้ว ASP เองนั้นก็จะมี Component ที่จำเป็นพื้นฐานมาให้อยู่แล้ว เช่น Component ในการติดต่อกับ Database และ ฯลฯ เป็นต้น

           4. ข้อดีของ ASP ที่ทำงานทางฝั่ง Server ก็คือ ข้อมูลบางอย่างที่เป็นความลับทางธุรกิจจะไม่ถูกเปิดเผย เพราะการทำงานนั้นจะทำอยู่ฝั่ง Server เท่านั้น ส่วนผู้ร้องขอข้อมูลจะได้รับข้อมูลตามที่ระบบโปรแกรมได้ออกแบบมาให้เท่านั้น เช่นการซื้อขายสินค้า ,ข้อมูลทางการค้า เป็นต้น ซึ่งจะตรงข้ามกับการทำงานของสคริปต์ทางฝั่ง Client 

 

ข้อดี

ข้อดีของ PHP 

          1. ความปลอดภัยอยู่ในระดับดี ถึงสูง พวกธนาคารหลายๆที่จึงเลือกใช้ สำหรับงานระดับลึกๆ หมายถึงข้อผิดพลาดของ bug ต่างๆ

          2. เมื่ออยู่บน linux,unix,solaris มันทำทำงานได้เร็วกว่า windows ประมาณเท่าตัว

          3. รูปแบบการเขียน ยืดหยุ่นมาก เขียนได้ทั้ง แบบ เก่า ตือ HTML +code หน้าเดียว หรือแบบใหม่ HTML แยกกันกับ Code ,OOP

         4. สามารถเขียนได้ ทั้ง win app ,batch script ,web app ,ล่าสุดมีคนพยายามทำให้มันเป็นเหมือน java นั่นคือ เอา php code ไปรันบน platform ไหนก็ได้

         5. มี framework ช่วยพัฒนาเยอะมาก

         6. อะไรที่ .net หรือ java มี เดี๋ยว php ก็มี ตาม

         7. เป็นที่นิยมในสถาบันการศึกษา เพราะฟรี

ข้อเสีย

ข้อเสียของ PHP
          1. ขาด IDE ที่เป็นมาตรฐานกลางทำให้คนเขียน ต้องไป ขุดหาโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาเอาเอง

          2. บางทีออก version ใหม่บ่อยเกินไป

          3. การเขียนบางที ต้อง include เยอะแยะไปหมด

          4. ไม่มี บ. software ใหญ่ๆ เป็นป๋าดันให้ เลยไม่ดังเปรี้ยง แต่ค่อยๆดังเพราะทำความดี สะสม

          5. การเขียนติดต่อระดับ component หรือ COM+ ของ windows อาจต้อง config ยุ่งยากหน่อย (ไม่เคยเขียน)

          6. ใช้ IE เปิด web php.net ใน เครือข่าย kku แล้ว download php ยากมาก

ข้อดี

ข้อดีของ JAVA 
          1. ภาษา Java เป็นภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุแบบสมบูรณ์ ซึ่งเหมาะสำหรับพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อน การพัฒนาโปรแกรมแบบวัตถุจะช่วยให้เราสามารถใช้คำหรือชื่อ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบงานนั้นมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมได้ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

          2. โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษา Java จะมีความสามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ไม่จําเป็นต้องดัดแปลงแก้ไขโปรแกรม เช่น หากเขียนโปรแกรมบนเครื่อง Sun โปรแกรมนั้นก็สามารถถูก compile และ run บนเครื่องพีซีธรรมดาได้

         3. ภาษาจาวามีการตรวจสอบข้อผิดพลาดทั้งตอน compile time และ runtime ทำให้ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในโปรแกรม และช่วยให้ debug โปรแกรมได้ง่าย

        4. ภาษาจาวามีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษา C++ เมื่อเปรียบเทียบ code ของโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยภาษา Java กับ C++ พบว่า โปรแกรมที่เขียนโดยภาษา Java จะมีจํานวน code น้อยกว่าโปรแกรมที่เขียนโดยภาษา C++ ทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่าและลดความผิดพลาดได้มากขึ้น

       5. ภาษาจาวาถูกออกแบบมาให้มีความปลอดภัยสูงตั้งแต่แรก ทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยจาวามีความปลอดภัยมากกว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้น ด้วยภาษาอื่น เพราะ Java มี security ทั้ง low level และ high level ได้แก่ electronic signature, public andprivate key management, access control และ certificatesของ

      6. มี IDE, application server, และ library ต่าง ๆ มากมายสำหรับจาวาที่เราสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการซื้อ tool และ s/w ต่าง ๆ   

ข้อเสีย

ข้อเสียของ JAVA

        1. ทำงานได้ช้ากว่า native code (โปรแกรมที่ compile ให้อยู่ในรูปของภาษาเครื่อง) หรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น อย่างเช่น C หรือ C++ ทั้งนี้ก็เพราะว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวาจะถูกแปลงเป็นภาษากลาง ก่อน แล้วเมื่อโปรแกรมทำงานคำสั่งของภาษากลางนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาเครื่องอีก ทีหนึ่ง ทีล่ะคำสั่ง (หรือกลุ่มของคำสั่ง) ณ runtime ทำให้ทำงานช้ากว่า native code ซึ่งอยู่ในรูปของภาษาเครื่องแล้วตั้งแต่ compile  โปรแกรมที่ต้องการความเร็วในการทำงานจึงไม่นิยมเขียนด้วยจาวา
        2. tool ที่มีในการใช้พัฒนาโปรแกรมจาวามักไม่ค่อยเก่ง ทำให้หลายอย่างโปรแกรมเมอร์จะต้องเป็นคนทำเอง ทำให้ต้องเสียเวลาทำงานในส่วนที่ tool ทำไม่ได้ ถ้าเราดู tool ของ MS จะใช้งานได้ง่ายกว่า และพัฒนาได้เร็วกว่า (แต่เราต้องซื้อ tool ของ MS และก็ต้องรันบน platform ของ MS)

bottom of page